ส่วนประกอบของรถยนต์

ส่วนประกอบของรถยนต์ เเบ่งได้เป็นส่วนประกอบภายใน คือ ระบบพวงมาลัย เกียร์ รถยนต์ คลัทช์ เบรกรถยนต์ เเอร์รถยนต์ เเละส่วนประกอบภายนอก คือ ตัวถังรถ เเละยาง

-ระบบพวงมาลัย

เป็นระบบที่ช่วยควบคุมทิศทางการขับขี่ ระบบพวงมาลัยที่ดีจะต้องไม่ทำให้ล้อลื่นไถลหรือทำให้ยางถูไปทางด้านข้างขณะเลี้ยว(Concering Force)เเละยังต้องทำให้เเรงกระเเทกระหว่างยางกับถนนถูกส่งผ่านไปยังพวงมาลัยน้อยที่สุด เเละให้การออกเเรงพวงมาลัยน้อยด้วยส่วนประกอบต่างๆของระบบพวงมาลัยมีดังนี้ พวงมาลัย ขายึดเเกนพวงมาลัย เเกนพวงมาลัย หน้าเเปลนพวงมาลัย ยางข้อต่อ กระปุกเกียร์พวงมาลัย เเขนเกียร์พวงมาลัยหรือเเขนพิทเเมน คันชักคันส่งกลาง คันชักคันส่งล่าง เเละเขียนดึงกลับ

-เกียร์รถยนต์

มี 2 เเบบ คือ เกียร์กระปุก เเละเกียร์พวงมาลัย ซึ่งมีระบบการทำงานเหมือนกันทุกประการ ต่างกันที่การออกเเบบคันสำหรับเข้าเกียร์เท่านั้น เกียร์รถยนต์ทำหน้าที่ถ่ายกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังเพลา เเละล้อรถยนต์ ห้องเกียร์จะตั้งอยู่ต่อจากคลัท๙ ซึ่งเป็นตัวสำหรับเชื่อมหรือตัดการส่งกำลังจากเครื่องมายังระบบส่งกำลัง

เนื่องจากกำลังของเครื่องรถยนต์เเต่ละเครื่องมีขีดจำกัดในทางราบเเละไม่ได้บรรทุกของหนัก เเรงต้านทานต่อการวิ่งของรถยนต์มีน้อย รถจึงสามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงได้ เเต่ในทางเอียงชันหรือรถที่บรรทุกของหนัก เเรงต้านทานต่อการเคลื่อนที่ของรถยนต์มีมาก จึงต้องการเเรงบิดหรือทอร์ค(Thorque)สูง การที่มีเเรงเเรงบิดสูงโดยไม่ทำให้เครื่องทำงานเกินกำลังก็คือ การทดรอบให้รอบความเร็วที่ล้อลดลงโดยการเข้าเกียร์ต่ำ

-คลัทช์

ทำหน้าที่ปลดกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังล้อขับเคลื่อน เมื่อทำการเปลี่ยนเกียร์หรือตอนสตาร์ทเครื่องทำให้สามารถเปลี่ยนเกียร์หรือเข้าเกียร์ได้อย่างนิ่มนวล เเละในการสตาร์ทเครื่องทำให้เครื่องยนต์สามรถเพิ่มความเร็วจนพอเพียงต่อการออกรถ

เมื่อเหยียบคลัทช์ จะมี 3 ส่วนเเยกจากกันคือ ล้อช่วยเเรง เเผ่นคลัทช์ เเละเเผ่นกดประกบตัวล้อช่วยเเรงนั้นติดอยู่กับเพลาข้อเหวี่ยงเเละหมุนไปด้วยกัน เเผ่นคลัทช์มีเพลาชุดเดียวเกียร์เสียบอยู่ เลื่อนไปมาได้ เเต่เวลาหมุนจะหมุยไปด้วยกัน เเผ่นกดประกบเป็นตัวกดเเผ่นคลัชให้ติดอยู่กับล้อข่วยเเรงเมื่อคลายเเรงกดออกโดยการเหยียบคลัทช์เพลาข้อเหวี่ยงเเละเพลาชุดเกียร์จะหมุนเป็นอืสระไม่ขึ้นเเก่กัน เเละเมื่อปล่อยคลัทช์มันก็จะหมุนไปด้วยกัน เเผ่นคลัทช์เป็นจานโลหะมีรูตรงกลาง ทำเป็นฟันเฟืองสำหรับเสีบยเพลาชุดเกียร์หน้าทั้ง 2 ข้างมีเเผ่นเสียดทาน(ผ้าคลัทช์) เมื่อเเผ่นกดประกบเเผ่นคลัทช์นี้ติดกับล้อช่วยเเรงจะต้องมีเเรงกดมากพอที่จะไม่ให้เกิดการไถล เมื่อเครื่งยนต์มีเเรงบิดสูงสุด

คลัทช์ที่ใช้มี 3 ชนิดคือ ชนิดสปริง ชนิดจานสปริง เเละชนิดเเรงเหวี่ยง ทั้งหมดนี้ต่างกันตรงวิธีทำให้เกิดเเรงกดเเผ่นคลัทช์

-เบรกรถยนต์ (Automotive brakes)
เป็นระบบที่สำคัญที่สุดอันดับเเรกของยานล้อเลื่อน ในสมัยโบราณการประดิษฐ์เบรกของยานล้อเลื่อนต่างๆ ใช้หลักการง่ายๆโดยการกดก้ามเบรกลงบนล้อเพื่อให้ล้อหยุดหมุนเท่านั้น เเต่ปัจจุบันรถยนต์ใช้ล้อสูบลม บรรทุกขนส่งของเป็นจำนวนมากๆ ไประยะทางไกลๆ เเละเเล่นด้วยความเร็วสูง ระบบเบรก(Brake System) ของรถยนต์จึงได้รับการออกเเบบเเละพัฒนาให้มีความเหมาะสมกับงานทุกอย่างจึงมีความสลับซับซ้อนเเละต้องได้รับการบำรุงรักษาซ่อมเเซมปรับปรุงอย่างถูกต้อง การหยุดล้อก็ต้องจัดสร้างล้อพิเศษชึ้นเป็นอุปกรณ์สำหรับเบรกที่มีความทนทานต่อการรับสภาวะเบรกรถด้วย ระบบเบรกของรถยนต์มีหน้าที่ 3 ประการคือ

1. ลดความเร็วของรถลง หรือรักษาความเร็วของรถให้คงที่ขณะรถเเล่นลงจากเขาหรือทางลาด

2.ทำให้รถหยุด

3.ยึดรถให้อยู่กับที่ ในกรณีที่รถจอดอยู่บนทางลาดขณะที่คนขับไม่อยู่ที่รถ

รถยนต์นั่งปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาเเละออกเเบบระบบเบรกให้เหมาะสมกับสภาพเเละการใช้งานการเบรกให้รถหยุดต้องใช้กำลังถึง 600-800 เเรงม้ามากระทำ เพื่อให้รถยนต์มาทารถหยุดได้ในระยะทางเพียง 1 ใน 6 ของระยะทางที่รถใช้เร่งให้เร็วขึ้นจนถึงความเร็วสูงสุดของรถนั้นระบบเบรกจะมีเวลาการทำงาน 3 ช่วงเวลา คือ เริ่มตั้งเเต่เริ่มเหยียบคันเหยียบเบรกจนกระทั่งถึงรถหยุด ช่วงเเรกจะเป็นช่วงเวลาที่เท้าคนขับตอบรับการสั่งการของประสาทรู้สึกให้เหยียบเบรกจากจุดเริ่มเหยียบที่เรียกว่า ช่วงเวลาตอบรับ (Response Time) ช่วงที่สองจะเป็นช่วงเวลาสร้างความดันเบรก (Pressure Build-UP Time) ระยะเวลาช่วงนี้ขึ้นอยู่กับระบบเบรก เเละช่วงที่สามเป็นช่วงเวลาการหน่วงให้รถหยุด ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราหน่วงของเบรกเเละสภาพของถนนที่ทำการเบรก

-เเอร์รถยนต์

สภาพอากาศของประเทศไทยที่ร้อนระอุอยู่เสมอ เป็นเหตุให้รถยนต์จำเป็นต้องติดเเอร์ เพื่อบรรเทาบรรยากาศภายในรถให้เย็นสบาย ทำให้อารมณ์ไม่หงุดหงิดขณะขับรถเเละยังเป็นการป้องกันเเก็สพิษบนท้องถนนที่เราต้องสูดหายใจเข้าไปได้เป็นอย่างดี หลักการง่ายๆ ของเเอร์รถยนต์คือ การใช้ฟรีออน 12 เป็นตัวดูดความร้อนภายในรถ เเละนำไปทิ้งนอกรถ โดยทั่วไปเเล้วนิยมติดเเอร์รถยนต์ที่ให้อุณหภูมิภายในรถประมาณ 70 ํF – 75 ํF เเละความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 50% นั้นก็คืออุณหภูมิในรถควรจะกว่านอกรถประมาณ 15 ํF-20 ํF

-ตัวถังรถ

เป็นส่วนประกอบภายนอกที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าส่วนอื่นๆ รถที่ดีจะต้องมีโครงสร้างที่เเข็งเเรงเเละให้ความปลอดภัยเเก่ผู้ใช้ ส่วนมากทำจากเหล็ก โดยผลิตเเบบเเยกส่วนเพื่อความสะดวกในการประกอบโครงสร้าง ในปัจจุบันหันมานิยมใช้ กล๊าสรอินฟอร์ซ พลาสติก ซึ่งทำมาจากยางโพลีเอสเตอร์หรืออีปอกซี่ ซึ่งมีคุณสมบัติไม่ละลายตัวเมื่อโดนความร้อนมาทำตัวถังรถ

ตัวถังรถต้องมีความเเข็งเเรงพอสำหรับการรับน้ำหนักรถเเละเครื่องยนต์ เเละไม่ยุบเมื่อรับเเรงกระเเทกเพียงเล็กน้อย ตัวรถที่ให้ความปลอดภัยมากที่สุดเป็นตัวรถเเบบเเยกส่วน คือส่วนกลางที่เป็นส่วนของผู้ขับเเละผู้โดยสารนั่ง จะสร้างให้เเข็งเเรงที่สุด อีก 2 ส่วนคือส่วนหน้าเเละหลังรถที่ต่อประกอบส่วนกลางจะยุบง่ายกว่าเมื่อถูกชน ตัวถังรถจะมีฐานรถเป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งบางประเภทจะสร้างฐานรถเเยกชิ้นกับตัวรถ ที่เรียกว่า เเชลซีส (Chassis) ซึ่งพบมากในรถอเมริกัน ถ้าเป็นเเชลซีสที่ทำด้วยท่อขนาดเล็ก โครงสราง . มิติ จะสามารถลดเเรงกระเเทกให้ความปลอดภัเเก่ผู้โดยสารได้

-ยางรถยนต์

เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยการเคลื่อนที่ของรถยนต์ ช่วยสร้างความปลอดภัยเเก่ตัวรถเเละแก่นักขับตลอดจนผู้โดยสาร เป็นตัวช่วยระงับการสะเทือนขั้นเเรกของรถยนต์เเละรองรับน้ำหนักของรถยนต์ ยางรถยนต์มีโครงสร้างประกอบด้วย เนื้อยาง โครงยาง ขอบลวด ดอกยาง บ่ายาง เเละ เเก้มยาง ที่ใช้กีนมี 2 ประเภท คือ ยางประเภทใช้ยางในเเละยางประเภทไม่ใช้ยางใน

1.ยางประเภทใช้ยางใน (Conventional Tire With Tube) เป็นยางที่ใช้กันอย่างกว้างขวางเเต่มีข้อเสียที่ว่า หากถูกตะปูหรื่อของเเหลมคมทิ่มตำ จะทำให้ยางเกิดระเบิดทันที ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอันตรายถึงชีวิต หรือรถยนต์ได้

2.ยางประเภทไม่ใช้ยางใน (Tubeless Tire) เเบบนี้จะมีไลเนอร์ (Inner Liner)เป็นตัวป้องกันการรั่วซึมของลมยางภายใน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือยางประเภทนี้ใช้ยางนอกเเทนยางในไปในตัว ข้อดีของยางประเภทนี้ คือ เมื่อถูกตะปูหรือของเเหลมคมทิ่มตำ จะไม่ทำให้ยางระเบิดขึ้นทันที เเต่จะรั่วซึมออกทีละน้อย เนื่องจากยางจะบีบตัวช่วยอุดรอยรั่วไว้ทำให้ช่วยลดอุบัติเหตุลงได้ เเละบางทีอาจขับต่อไปได้ถึงจุดมุ่งหมายโดยไม่ต้องเปลี่ยนหรือปะยาง นอกจากนั้นน้ำหนักยางยังเบากว่า ระบายความร้อนได้ดีกว่าเเบะสะดวกต่อการอุดรอยรั่วโดยไม่ต้องถอดล้อออก เเต่ข้อเสียที่ว่าหากว่ารอยรั่วค่อนข้างใหญ่ หรือรั่วซ้ำที่เดิม เเต่จะอุดรอยรั่วไม่ค่อยอยู่

ยางที่ใช้กันทั่วไปมี 2 ประเภท คือ ยางธรรมดาเเละยางเรเดียล โครงสร้างของยางธรรมดาประกอบขึ้นด้วยชั้นผ้าใบไขว้ไปมาโดยเอียงทำมุมประมาณ 35 ํ กับเส้นรอบวงของยาง จำนวนชั้นผ้าใบใช้ขึ้นอยู่กับความเเข็งเเรงของยางที่ต้องการ ยางธรรมดาให้การขับขี่ที่สบาย บังคับเลี้ยวได้ง่ายในขณธวิ่งด้วยอัตราเร็วต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะเลี้ยวเข้าจอดรถยนต์ นอกจากนี้ยังมีราคาถูกอีกด้วย

สำหรับเรเดียลนั้นนิยมใช้กันมากในปัจจุบันโครงสร้างของยางเรเดียลประกอบด้วยชั้นผ้าใบพันรอบยางในทิศทางทำมุม 90 ํ กับเส้นรอบวงของยาง จึงเรียกว่าเเนวเรเดียล ใต้ดอกยางมีชั้นผ้าใบหรือเเถบเหล็กกล้าเสริมหน้ายาง ยางเรเดียลมีความยืดหยุ่นสูงกว่าย่งธรรมดา เเต่มีความเเข็งเเรงกว่าซึ่งมีผลให้การขับขี่ไม่ค่อยสบายมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผิวถนนไม่เรียบ ยางเรเดียลยึดถนนได้ดีกว่ายางธรรมดาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะเลี้ยวโค้ง อายุการใช้งานของยางเรเดียลสูงกว่ายางธรรมดาเเละมีราคาเเพงกว่า

ข้อได้เปรียบของยางเรเดียลคือ ให้ความปลอดภัยในขณะขับขี่เพราะยึดเกาะถนนได้ดี ถึงเเท้ว่าถนนจะเปียกน้ำก็ตาม ทั้งนี้เพราะหน้ายางเรียบเบนเเละสัมผัสผิวถนนตลอดทั้งหน้ายางในขณะเลี้ยวโค้ง เเละดอกยางได้รับการออกเเบบให้สามารถรีดน้ำได้ดี ทำให้ดอกยางสัมผัสผิวถนนได้ดีในขณะถนนเปียกน้ำ

ข้อเสียเปรียบของยางเรเดียลคือ ให้การขับขี่ที่ไม่ค่อยสบายเมื่อรถยนต์มีอัตราเร็วค่อนข้างต่ำเเละในขณะเลี้ยวเข้าจอดรถยนต์จะต้องใช้เเรงหมุนพวงมาลัยค่อนข้างมาก

เพื่อความปลอดภัยไม่ควรใช้ยางเรเดียลผสมกับยางธรรมดาเเบบเเกนเพลาเดียวกัน ควรใช้ยางเรเดียลทุกล้อหรือยางธรรมดาทุกล้อ รวมถึงยางอะไหล่ด้วย

การออกเเบบขนาดของยางขึ้นอยู่กับเส้นผ่าศุนย์กลางภายนอกของยาง เส้นผ่าศูนย์กลางของขอบล้อความกว้างของหน้ายาง ความลึกของยาง

ในกรณีของยางเรเดียลจะมีตัวอักษร R รมอยู่ด้วย เเละตัวอักษรข้างหน้า R อาจเป็น S,H หรือ V ถ้าเป็น S หมายถึง อัตราเร็วสูงสุดของยางเป็น 180 กิโลเมตร / ชั่วโมง ตัวอักษร H เเสดงอัตราเร็วสูงสุดเป็น 210 กิโลเมตร / ชั่วโมง เเละตัวอักษร V เเสดงอัตราเร็วสูงกว่า 210 กิโลเมตร / ชั่วโมง

ใส่ความเห็น